- เสริมหน้าอก (ซิลิโคนบราซิล มี อย. รับรอง)
- แก้ไขหน้าอกเพิ่ม
- ลดขนาดปานนม
- ลดขนาดหัวนม
- ยกกระชับหน้าอก
- เสริมหน้าอก+ยกกระชับ
นอกจากใบหน้าที่สวยงาม ทรวงอกที่งดงามได้รูป ไม่หย่อนคล้อย ขนาดเหมาะสมกับเรือนร่าง ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้รูปร่างสมส่วน มีบุคลิกภาพที่ดี เกิดความมั่นใจ ดังนั้นการศัลยกรรมทรวงอกจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัย ควรปรึกษาศัลยแพทย์ตกแต่งที่มีความชำนาญ และได้มาตรฐานในการรักษา
ผิวของซิลิโคน
ผิวทราย : นิ่ม เป็นธรรมชาติ ไม่ต้องนวด โอกาสเป็นถุงเป็นพังผืดน้อยมาก
ผิวเรียบ : โอกาสเป็นพังผืดมาก ถ้าเกิดพังผืดจะทำให้เต้านมแข็ง รัดเต้านมจนกลม ดูไม่เป็นธรรมชาติ หากมีพังผืดมากๆ อาจเจ็บเต้านม จนถึงขั้นต้องเลาะเอาพังผืดออกแล้วทำใหม่อีกรอบหนึ่ง
รูปทรงของซิลิโคน
ทรงกลม : เหมาะกับคนมีเนื้อหน้าอกพอสมควรอยู่แล้ว เมื่อเสริมแล้วหน้าอกจะตกลงมาคล้ายๆ กับหยดน้ำ เพียงแต่ข้างล่างยื่นไม่มาก จะเปลี่ยนไปตามรูปร่างในท่านอนและท่าตะแคง ข้อดีคือ ดูเป็นธรรมชาติมากกว่าในทุกอิริยาบถ หรือคนที่ต้องการให้เห็นเนินอกด้านบนชัดเจนเวลาใส่เสื้อผ้ารัดๆเนื่องจาดซิลิโคนเป็นทรงกลมจะเห็นเนินอกด้านบนชัดเจนกว่า
ทรงหยดน้ำ : เหมาะกับคนที่มีหน้าอกน้อยมาก ข้อดีคือใกล้เคียงธรรมชาติ ทรงของซิลิโคนจะเติมเนื้อด้านล่าง ด้านบนจะไม่นูนเหมือนทรงกลม
ขนาด
เพิ่มขึ้น 1 cup ใส่ประมาณ100-200 cc.
เพิ่มขึ้น 2 cup ใส่ประมาณ 200-400 cc.
เพิ่มขึ้น 3 cup ใส่มากกว่า 300-400 cc.
บริเวณที่จะทำการวางเต้านมเทียม
1. บริเวณใต้กล้ามเนื้อ (Submuscular) : โอกาสกลมเป็นบล็อกน้อย ไม่เห็นขอบซิลิโคน ไม่หย่อนคล้อยลงตามธรรมชาติ แต่มีอาการปวดหลังทำมากกว่าเพราะกล้ามเนื้อโดนยืด พักฟื้นนานกว่า และไม่เหมาะกับนักกีฬาเพราะจะทำให้หน้าอกเสียรูปพร้อมการออก กำลังแขน
2. บริเวณเหนือกล้ามเนื้อ (Subglandular) : โอกาสเห็นขอบและเป็นบล็อกมากกว่า
ใช้ในบางคนที่หน้าอกคล้อยอยู่แล้วที่เมื่อใส่ใต้กล้ามเนื้อจะทำให้เห็นเป็นสองลอน
ช่องทางที่จะใส่เต้านมเทียมนั้นทำได้ 3 วิธีคือ
1. รักแร้ : เลือกเป็นอันดับแรก ไม่มีแผลที่หน้าอก แต่เป็นวิธีที่พักฟื้นนานที่สุดและลำบากในการยกแขนช่วงแรกๆ
2. ใต้ราวนม : เหมาะกับคนที่ต้องโชว์ผิวใต้รักแร้บ่อยๆ และเมื่อยกแขนไม่ต้องการให้ใครเห็นแผล ไม่เจ็บเวลายกแขนหลังทำใหม่ๆ
3. ทางแผลปานนม : ในกรณีที่คนไข้ต้องการแก้ไขหัวนมหรือลดขนาดปานนมไปพร้อมเสริมหน้าอก ข้อดีเหมือนๆกับแผลใต้ราวนม
การผ่าตัด
1. ใช้เวลาผ่าตัดประมาณ 1 – 2 ชั่วโมง โดยการวางยาสลบ
2. ตำแหน่งที่จะใส่ถุงเต้านมเทียม อาจจะอยู่ใต้กล้ามเนื้อหน้าอกหรือเหนือกล้ามเนื้อ ซึ่งแพทย์จะอธิบายให้ทราบถึงข้อดีและข้อเสียของแต่ละตำแหน่ง
3. แพทย์จะแนะนำคุณสมบัติของถุงเต้านมเทียม (ซิลิโคน) ข้อดี ข้อเสีย และขนาดของซิลิโคนให้แก่คนไข้
4. เมื่อได้ตัดสินเลือก ชนิด ขนาดของเต้านมเทียม. ตำแหน่งที่จะใส่และตำแหน่งที่จะผ่าตัดเรียบร้อยแล้ว แพทย์จึงเริ่มการผ่าตัด
ความเสี่ยงและผลข้างเคียงของการตรวจรักษา
การผ่าตัดทุกชนิดมีความเสี่ยงที่เกิดจากการผ่าตัดทั่วไป เช่น เลือดออก, เลือดคั่ง, ติดเชื้อ แต่มีอัตราการเกิดประมาณ 1-5% ผลแทรกซ้อนจากการเสริมเต้านมอาจจะเกิดการรัดตัวของพังผืดที่อยู่รอบเต้านม ทำให้เกิดความรู้สึกแข็งผิดปกติของเต้านมข้างนั้น บางครั้งอาจเกิดความรู้สึกเสียว, ชา บริเวณหัวนมหรือบริเวณใกล้รอยผ่าตัด ซึ่งส่วนใหญ่จะดีขึ้นเป็นปกติได้ แต่บางคนก็อาจจะรู้สึกเช่นนั้นตลอดไป
ผู้ที่ได้รับการเสริมเต้านมสามารถให้นมบุตรได้ และการเสริมเต้านมไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมเมื่อเทียบ กับผู้หญิงที่ไม่ได้รับการเสริมเต้านม
ถุงเต้านมเทียม(ซิลิโคน)มีโอกาสแตกรั่วหรือไม่
ถุงเต้านมเทียมมีโอกาสแตกรั่วได้ ไม่เกี่ยวกับการได้รับการกระแทกอย่างรุนแรง ถ้าเป็นซิลิโคนเหลวอาจเกิดขึ้นได้ 2 กรณี อย่างแรกถ้าพังผืดที่หุ้มรอบถุงไม่แตก อาจไม่รู้เลยว่าเกิดการรั่วขึ้น ถ้าพังผืดที่หุ้มรอบฉีกขาดซิลิโคนเหลวจะออกมานอกถุง อาจจะเกิดพังผืดหุ้มรอบซิลิโคนนั้นใหม่ เต้านมข้างนั้นจะมีรูปร่างที่เปลี่ยนไป และอาจรู้สึกแข็งมากขึ้น
การปฏิบัติตนก่อนเข้ารับการผ่าตัดเสริมหน้าอก
1.งดอาหารและน้ำอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมงก่อนเข้ารับการผ่าตัด กรณีดมยาสลบ
2. อาบน้ำสระผมชำระร่างกายให้สะอาด
3. งดใช้ยาบางชนิดที่อาจมีผลต่อการผ่าตัด เช่น ยาแก้ปวด, แอสไพริน, วิตามินอี, วิตามินซี เป็นต้น ก่อนการผ่าตัดอย่างน้อย 1 อาทิตย์
4. กรณีสูบบุหรี่ ควรงดสูบบุหรี่ก่อนการผ่าตัดประมาณ 2 อาทิตย์ เพื่อช่วยในการหายของแผล
5.หลีกเลี่ยงการผ่าตัดในช่วงมีประจำเดือน
6. ในรายที่มีโรคประจำตัวหรือแพ้ยาบางอย่างต้องแจ้งให้แพทย์ทราบก่อน
7. เตรียมเสื้อชั้นในตามขนาดและรูปแบบที่แพทย์แนะนำ
การปฏิบัติตนหลังการผ่าตัดเสริมหน้าอก
1. อย่าให้บาดแผลถูกน้ำ 3-7 วัน แพทย์จะปิดพลาสเตอร์กันน้ำให้
2. นอนให้ลำตัวส่วนบนสูงประมาณ 30-40 องศา
3. ไม่ควรยกของหนัก ทำงานหนักอย่างน้อย 4 สัปดาห์ และหลีกเลี่ยงการเล่นกีฬาประมาณ 1-2 เดือน
4. รับประทานอาหารได้ตามปกติ
5. รับประทานยาตามแพทย์สั่งและมาตรวจตามแพทย์นัด
6. อาจจะต้องมีการตามคำแนะนำของแพทย์หลังตัดไหมแล้ว
7. ภาวะแทรกซ้อนที่อาจพบได้คือ เลือดออกภายใน ติดเชื้ออักเสบ รูปทรงไม่สวยงาม เต้านมแข็งตึง อาจชาหรือเจ็บปวดบริเวณใดบริเวณหนึ่ง แต่สิ่งเหล่านี้พบได้น้อยขึ้นอยู่กับความชำนาญ ความสามารถของศัลยแพทย์ และความร่วมมือของผู้รับบริการที่ปฏิบัติตามคำแนะนำ
หลังผ่าตัดจะมีอาการปวดตึงประมาณ 7-10 วัน และจะค่อยๆ หายไปในที่สุด อาจมีอาการชาที่แขนหรือเต้านมร่วมด้วย บางรายนาน 1-2 เดือน ถ้าเย็บแผลด้วยไหมธรรมดา สามารถตัดไหมได้ภายใน 7 วัน
เมื่ออาการปวดทุเลาลง ผู้ป่วยจะต้องนวดหน้าอกตามที่แพทย์แนะนำเพื่อป้องกันการเกิดพังผืดยึดเกาะ เต้านมจนทำให้หน้าอกแข็ง อาจหยดเบบี้ออยล์ลงบนฝ่ามือเพื่อลดการเสียดสีและทำให้นวดง่ายขึ้น
อาการบวม ถ้าผ่าตัดวางถุงซิลิโคนใต้กล้ามเนื้อ (Submuscular Placement) อาการบวมจะหายภายใน 1-2 เดือน แต่ถ้าวางถุงซิลิโคนเหนือกล้ามเนื้อ (Subglandular Placement) อาการบวมจะหายภายใน 1-2 สัปดาห์
0 ความคิดเห็น: